ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) คืออะไร ?

274 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) คืออะไร ?

ภาวะพร่องการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไป ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงจริงหรือไม่

   วันนี้แอดมินของ ร้านแว่นออบิต โดยนักทัศนมาตร หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คอยให้คำปรึกษา ตัดและวัดสายตาอย่างละเอียด ได้นำบทความมาให้ความรู้เกี่ยวกับ อาการ สาเหตุที่ทำให้เกิด และแนะนำวิธีการรักษา 

 

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) คืออะไร ?

   เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี

 

 

ตาบอดสีเป็นภาวะพบได้บ่อยในผู้ชายประมาณ 8% และพบในผู้หญิงได้ประมาณ 0.4% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี (Achromatopsia) จะพบได้น้อยมาก

 

ตาบอดสี เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้

   กรรมพันธุ์ หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบได้มากที่สุด โดยอาการที่พบบ่อยคือ บอดสีเขียว และสีแดง โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5 – 1%

   อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น

   โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก

   โรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน

   สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดวงตาจากอุบัติเหตุ การได้รับสารเคมีเป็นระยะเวลานาน ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค เป็นต้น

 

อาการของโรคตาบอดสี สังเกตได้อย่างไร ?

อาการของโรคตาบอดสี จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

   ระดับน้อย สีภาพที่เห็นอาจไม่เหมือนคนทั่วไป แต่สามารถบอกได้ว่าน่าจะเป็นสีอะไร

   ระดับปานกลาง ความสามารถในการแยกสีน้อยลง

   ระดับรุนแรง เห็นทุกอย่างเป็นสีขาวกับดำ ซึ่งระดับนี้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

 

เราสามารถทดสอบตาบอดสีได้อย่างไร ?

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจ และปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีวินิจฉัยโรคตาบอดสีมีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันไป ได้แก่ แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates) แบบทดสอบเคมบริดจ์ (Cambridge color test) การทดสอบด้วยเครื่อง Anomaloscope เป็นต้น

 


 

ตาบอดสีกับผลกระทบในชีวิตประจำวัน

อย่างไรบ้าง ?

   ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยตาบอดสีอาจมองเห็นสีผิดเพี้ยนไปบ้าง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจเกี่ยวกับเลือกสีของสิ่งของอยู่บ้าง ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีมีหลายประเภท อาจจะมองไม่เห็นหรือจำแนกสีหนึ่งออกจากอีกสีได้ยาก เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง ทำให้สีที่เห็นผิดเพี้ยนไป หรือในคนที่ตาบอดทุกสี หรือตาบอดสีระดับรุนแรง จะทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นสีขาวดำ ตาบอดสีส่งผลกระทบอย่างไรในแต่ละอาชีพ ?

   วัยเด็ก – วัยเรียน มีผลกระทบต่อเรื่องของการเรียนศิลปะ การประเมินพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการในการเรียนรู้

   งานที่ผู้ทึ่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่าง ๆ

   ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ หากสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้อง และผ่านเกณฑ์ประเมินอื่น ๆ

 

ตาบอดสีรักษาได้ไหม ?

สำหรับผู้ที่เป็นตาบอดสีโดยกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ โดยหากผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นตาบอดสีแต่กรรมพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ

ในกรณีที่ไม่เป็นตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดตาบอดสี เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

จักษุแพทย์อาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยตาบอดสี สวมแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ

ผู้ที่เป็นตาบอดสี สามารถทำเลสิคได้ (LASIK) ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีสภาวะตาปกติทั่วไป แต่การรักษาด้วยวิธีการทำเลสิค เป็นการรักษาอาการสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคตาบอดสีได้

การตรวจิวินิจฉัยโรคตาบอดสี ควรตรวจคัดกรองตาบอดสีตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยแนะนำที่อายุ 4 ขวบครึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อคเมื่อตนเองตาบอดสี ซึ่งจะทำให้เกิดข้อจำกัดต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และการพบว่าเป็นโรคตาบอดสีได้เร็ว จะช่วยในการวางแผนการรักษาและวางแผนการใช้ชีวิตได้ดี

 

เครดิต : https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-color-blindness

 

   ร้านแว่นตาออบิท โดยนักทัศนมาตร หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"เรามีเลนส์โปรเกรสซีฟจริงๆ ให้ท่านทดลองสวมใส่ก่อนตัดสินใจ"

   เปิดทุกวัน 11:00-20:00น. (จอดรถยนต์ ตึกS1)
   จองคิววัดสายตาได้ทุกวัน
   มีบริการตัดเลนส์ด่วนรอรับได้

   Tel : 089-838-6992 , 082-698-8002
   ติดต่อทางLine คลิก : https://shorturl.at/pHZ56
  Website : https://www.orbit-eyesight.com/
   แผนที่ร้าน : https://shorturl.at/FMS34

   ออกใบกำกับภาษี หรือ ใบเสร็จเต็มรูปได้
   รับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
   ผ่อน 0% ตามเงื่อนไข
   เข้าร่วมโครงการ Flexible Benefit CMU


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้