ภาวะสายตายาวตามอายุ(Presbyopia)

48 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะสายตายาวตามอายุ(Presbyopia)

เมื่ออายุมากขึ้นไม่สามารถอ่านตัวอักษรขนาดเล็กหรือมองวัตถุที่อยู่ใกล้ได้  อาการเหล่านี้มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 วันนี้แอดมินของ ร้านแว่นออบิท โดยนักทัศนมาตร หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คอยให้คำแนะนำ ตัดและวัดสายตาอย่างละเอียด ได้นำบทความ มาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสายตายาวตามอายุ(Presbyopia)


ภาวะสายตายาวตามอายุ(Presbyopia)
 เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ ความสามารถในการมองเห็นของคนเรานั้นจำเป็นต้องอาศัยกระจกตาและเลนส์ตาในการหักเหแสงที่เข้ามาในดวงตา โฟกัสไปที่จอประสาทตา เลนส์ตามีความยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ โดยเมื่อมองไปที่วัตถุที่อยู่ใกล้ กล้ามเนื้อเกาะยึดรอบเลนส์จะหดตัวโป่งออกเพื่อเปลี่ยนจุดโฟกัส เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ โดยอาการดังกล่าวเรียกว่าภาวะสายตายาวตามอายุ ภาวะสายตายาวตามอายุจะค่อย ๆ แสดงอาการเมื่ออายุ 40 ต้น ๆ และอาการจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 65 ปี  สายตายาวที่เกิดในคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปีเป็นอาการสายตายาวก่อนวัยอันควร (premature presbyopia) ผู้ที่เริ่มมีปัญหาในการมองวัตถุขนาดเล็กหรือวัตถุในระยะใกล้ หรือต้องยื่นมือถือหนังสือออกไปเพื่อให้มองเห็น ควรเข้ารับการตรวจตาเพื่อตรวจดูว่ามีภาวะสายตายาวตามอายุหรือไม่ โดยภาวะสายตายาวตามอายุสามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัด


 

 อาการของสายตายาว


 ไม่สามารถอ่านตัวอักษรขนาดเล็กหรือมองวัตถุที่อยู่ใกล้ได้
 ปวดตา ปวดศีรษะ มีอาการตาล้าจากการอ่านหนังสือที่ใกล้
 ต้องหรี่ตามอง
 ต้องปรับแสงให้สว่างขึ้นเพื่อจะได้อ่านตัวอักษรหรือมองเห็นได้ชัดขึ้น

 

 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตายาวตามอายุ

 อายุที่มากขึ้น สายตายาวตามอายุมักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 เพศหญิง
 การผ่าตัดตา
 รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ
 โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) ซึ่งพบได้ในนักดำน้ำที่ว่ายขึ้นมาเหนือน้ำเร็วเกินไป

 

 โรคบางชนิดอาจทําให้เกิดภาวะสายตายาวก่อนวัยอันควร  ได้แก่

 การได้รับบาดเจ็บที่ตา

 โรคเบาหวาน

 โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)

 โรคโลหิตจาง

 โรคหัวใจและหลอดเลือด

 ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง

 สายตายาวที่เป็นแต่กำเนิด


ภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

การตรวจวินิจฉัยภาวะสายตายาวตามอายุ
การตรวจสายตา ได้แก่การขยายรูม่านตาและการวัดค่าสายตา สําหรับผู้ใหญ่ แนะนําให้ตรวจตาดังต่อไปนี้

 อายุต่ำกว่า 40 ปี : ทุก 5 - 10 ปี

 อายุ 40-54 ปี : ทุก 2 - 4 ปี

 อายุ 55-64 ปี : ทุก 1 - 3 ปี

 อายุ 65 ปีขึ้นไป : ทุก 1 - 2 ปี

 
 หากสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตา ควรเข้ารับการตรวจตาทุกปี

 การรักษาภาวะสายตายาว

 แว่นตา

แว่นสำหรับอ่านหนังสือที่หาซื้อได้ทั่วไป มีค่ากำลังสายตาให้เลือกตั้งแต่ +1.00 D (ไดออปเตอร์) ถึง +3.00 D ผู้ที่ไม่เคยสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงมาก่อนที่จะสายตายาวตามอายุ สามารถใช้แว่นชนิดนี้ได้

แว่นสั่งตัดตามใบสั่งแพทย์ ในกรณีที่แว่นสำหรับอ่านหนังสือที่มีขายทั่วไปไม่ทำให้การมองเห็นดีขึ้น

แว่นเลนส์สองชั้น (Bifocals) จะมองเห็นเส้นตัดแนวนอนบนเลนส์ ซึ่งจะแบ่งเลนส์ 2 ชนิดออกจากกัน – เลนส์ด้านบนสำหรับการมองทั่วไปและเลนส์ด้านล่างสำหรับอ่านหนังสือ

แว่นเลนส์สามชั้น (Trifocals) ใช้สําหรับมองไกล การมองระยะหน้าจอคอมพิวเตอร์และการทำงานระยะใกล้ โดยสามารถมองเห็นเส้นตัดแนวนอนบนเลนส์จำนวน 2 เส้น

แว่นมัลติโฟคอลแบบโปรเกรสซีฟ (Progressive multifocals) จะมีค่ากำลังสายตาบนเลนส์ต่างกันไปในแต่ละจุด ทำให้สามารถมองได้

แว่นโปรเกรสซีฟ แว่นเฉพาะทางสำหรับการทำงานกับคอมพิวเตอร์ มองระยะใกล้ หรืออ่านหนังสือ

 คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์สองชั้น (Bifocal contact lenses) มีทั้งชนิดนิ่มและแข็ง มีจุดโฟกัสทั้งใกล้และไกล แต่ขณะนี้ยังไม่มีในประเทศไทย

คอนแทคเลนส์แบบมัลติโฟคอล (Multifocal contact lenses) มีจุดโฟกัส 3 จุด ได้แก่ ระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล มีทั้งชนิดนิ่มและแข็ง

คอนแทคเลนส์ชนิด Monovision ประกอบด้วยเลนส์สําหรับการมองระยะใกล้และเลนส์สําหรับการมองระยะไกล โดยจะสวมใส่เลนส์แต่ละชนิดในตาแต่ละข้าง โดยการใส่เลนส์ชนิดนี้สมองต้องใช้เวลาปรับตัวนาน 2 สัปดาห์

คอนแทคเลนส์ ชนิด Modified monovision เป็นเลนส์สําหรับการมองใกล้หรือไกล 1 ข้างและเลนส์แบบมัลติโฟคอลสําหรับตาอีกข้างหนึ่ง

 
การใส่คอนแทคเลนส์ไม่เหมาะสําหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องท่อน้ำตา ตาแห้ง หรือมีปัญหาที่บริเวณเปลือกตาหรือผิวตา

ตรวจสายตาเป็นประจํา โดยเฉพาะเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป

ควบคุมอาการป่วยที่เป็นอยู่ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาในการมองเห็น

สวมแว่นกันแดดเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี

สวมแว่นตาป้องกันเมื่อต้องทาสี ตัดหญ้า ใช้ผลิตภัณฑ์เคมี หรือเล่นกีฬา

เปิดไฟให้สว่างขึ้นเพื่อจะได้มองเห็นได้ชัด

รับประทานผักและผลไม้ การรับประทานวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยบำรุงสายตา

หากมีอาการตามัว เห็นภาพซ้อน หรือสูญเสียการมองเห็น ควรรีบไปพบแพทย์

 เครดิต : https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/presbyopia



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้